กลีเซอรีนธรรมชาติสามารถนำมาผสมกับสมุนไพรชนิดต่าง
ๆ ได้เพื่อให้ได้สบู่สมุนไพรตามความต้องการของ ผู้ใช้ โดยที่ปราศจากสารเคมีต่างๆ
ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว ผิวหนังของคนเราต่างกันเราจึงเลือกใช้สบู่ที่
ต่างชนิดกัน จึงมีสบู่หลากหลายให้คุณได้เลือกใช้ บางคนก็ชอบใช้ขมิ้น
บางคนก็ชอบใช้น้าผึ้ง ดังนั้น เราจึง สามารถทำเองได้โดยใช้กลีเซอรีนจากธรรมชาตินี้
สมุนไพรที่ใช้ก็หาได้ง่ายในท้องถิ่นราคาไม่แพงและยังให้
ประโยชน์ต่อผิวเราได้ดีอีกด้วย
วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ผลการทดลอง
เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีการดำเดินงานโครงงานครบทุกขั้นตอนแล้วก็จะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นสบู่ขมิ้น
ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์
เมื่อล้างหน้าแล้วจะรู้สึกว่าผิวหน้าให้สดชื้น ผ่องใส อ่อนเยาว์ เพราะคุณสมบัติที่มีอยู่ในสบู่จะช่วยรักษาสิวเสี้ยน กระชับรูขุมขน รักษาแผลสิว
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับน้ำผึ้ง
น้ำผึ้ง (Honey) คือผลผลิตของน้ำหวานจากดอกไม้ และจากแหล่งอื่นๆ ที่ผึ้งงานนำมาเก็บสะสมไว้ โดยผ่านขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีแล้วสะสมไว้ในรังผึ้ง ซึ่งปกติแล้วน้ำผึ้งจะมีกลิ่น รส สี ที่ต่างกันออกไปตามชนิดของพืชนั้นๆ จึงทำให้สามารถระบุชนิดของน้ำผึ้งตามชนิดของพืชนั้นได้ๆ เช่น น้ำผึ้งจากดอกส้ม ดอกลำไย ดอกลิ้นจี่ ก็จะแตกต่างกันออกไปซึ่งนิยมนำมาใช้เป็นสารให้ความหวานในอาหารหรือเครื่องดื่มนานาชนิด
ประโยชน์ของน้ำผึ้ง
น้ำผึ้งมีส่วนผสมของน้ำตาลและสารประกอบอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นฟรุกโทสกับกลูโคส และมีวิตามินและแร่ธาตุผสมอยู่ด้วย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 กรดโฟลิก วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ธาตุทองแดง ธาตุสังกะสี เป็นต้น สำหรับสารประกอบอื่นๆที่มีอยู่ในปริมาณเพียงน้อยนิดนั้นจะเป็นสารที่ทำหน้าที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระเป็นหลัก
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเกลือแกง
เกลือแกง (Sodium Chloride หรือ Common Salt) คือสารให้ความเค็มชนิดหนึ่งที่นิมยมใช้กัน หรือพูดอีกนัยหนึ่ง เกลือแกง ก็คือเกลือที่นำมาประกอบอาหารนั่นเองครับ มีให้เลือกใช้ทั้งแบบเกลือป่นและแบบเกล็ดขนาดใหญ่ เกลือแกงมีชื่อทางเคมีว่า Sodium Chloride มีสูตรเคมีคือ NaCl
เกลือแกงมีทั้งได้มาจากการสังเคราะห์ทางเคมีและจากธรรมชาติ แต่การได้จากธรรมชาตินั้นจะสะอาดปลอดภัยและมีราคาถูกกว่ามาก จึงเป็นที่นิยมมากกว่า โดยที่เราผลิตเกลือแกงจากน้ำทะเลนั่นเองครับ ถ้าใครเคยขับรถหรือนั่งรถผ่านมหาชัยและกำลังจะเข้าแม่กลอง จะเห็นพื้นที่ขนาดใหญ่ ขาวโพลนไปด้วยภูเขาย่อมๆสีขาว นั่นแหละครับนาเกลือ พื้นที่สำหรับผลิตเกลือแกงหรือเกลือสมุทรใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เพื่อใช้ในประเทศไทยครับ…
ประโยชน์ของเกลือแกง
ประโยชน์อย่างแรกเลยของเกลือแกงคือการทำมาปรุงรสอาหารและนำมาผลิตเครื่องปรุงอาหาร ลองนึกดูนะครับว่าถ้าไม่มีเกลือแกง เราคงไม่มีน้ำปลา ไม่มีซีอิ้ว ไม่มีเต้าเจี้ยว ไม่มีซอสหอยนางรม ไม่มีเกลือป่น รสชาติอาหารคงดูไม่จืดเลยละครับ นี่ยังไม่รวมถึงเราจะไม่มีพริกกับเกลือสำหรับผลไม้เปรี้ยวสุดจี๊ดอีกด้วย
เกลือแกงไม่มีประโยชน์เพียงแค่เป็นเครื่องประกอบอาหารเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์อย่างมากในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมฟอกย้อมสิ่งทอ อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมแปรรูปและถนอมอาหาร ยาฆ่าแมลงและยาปราบศัตรูพืช ตลอดจนอุตสาหกรรมสบู่และผงซักฟอก เป็นต้น
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกลีเซอรีน
กลีเซอรีน เป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความหนืด และมีรสหวาน
โดยปกติมาจากน้ำมันของพืช ซึ่งโดยทั่วไปคือ น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม
กลีเซอรีนสามารถละลายได้ดีในแอลกอฮอล์และน้ำ แต่ไม่ละลายในไขมัน
เนื่องจากกลีเซอรีนมีคุณสมบัติทางเคมีที่หลากหลายจึงสามารถนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารเคมีอื่นๆได้
ด้วยคุณสมบัติที่สามารถละลายในแอลกอฮอล์และน้ำได้นี่เอง
จึงนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง
ซึ่งกลีเซอรีนบริสุทธิ์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายรูปแบบ เช่น
ใช้เป็นส่วนผสมหรือเป็นตัวช่วยในกระบวนการผลิตเครื่องสำอางค์
ผลิตภัณฑ์ในห้องน้ำและสุขอนามัยส่วนบุคคล อาหาร ยาสีฟัน ยาสระผม
และนิยมใช้มาหในอุตสาหกรรมสบู่
เพราะกลีเซอรีนเป็นส่วนช่วยหล่อลื่นเหมือนมอยซ์เจอร์ไรเซอร์เพื่อปกป้องผิวไม่ให้แห้งและดูดซับความชื้นเมื่อสัมผัสกับอากาศซึ่งจะทำให้รู้สึกว่าผิวมีความชุ่มชื้น
อ่อนโยนต่อผิว ขจัดความสกปรกที่ฝังแน่น ไม่ทำให้อุดตันรูขุมขน
รวมทั้งปลอดภัยต่อผิวหนัง
การที่กลีเซอรีนเป็นสารที่ไม่มีพิษในทุกๆรูปแบบของการประยุกต์ใช้
ไม่ว่าจะใช้เป็นสารตั้งต้นหรือสารเติมแต่ง
ทำให้กลีเซอรีนเป็นสารเคมีที่ได้รับความสนใจและนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ด้วยการทำยาเหน็บทวาร
ใช้เป็นยาระบาย และยังสามารถใช้เป็ฯยาเฉพาะที่สำหรับปัญหาทางผิวหนังหลายชนิด
รวมถึง โรงผิวหนัง ผื่น แผลไฟลวก แผลกดทับ และบาดแผลจากของมีคม
กลีเซอรีนถูกใช้เพื่อรักษาโรคเหงือกได้ด้วย
เนื่องจากกลีเซอรีนสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องได้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ขมิ้น
1.1 ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของขมิ้น
บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.
2542 ได้บรรจุแคปซูลขมิ้นชันเป็นยารักษาอาการแน่นจุกเสียด โดยมีรูปแบบเป็นแคปซูลที่มีผงเหง้าขมิ้นชัน อบแห้ง 250 มิลลิกรัม ให้ขมิ้นชันที่ใช้มี curcuminoid ไม่น้อยกว่า
5% และน้ำมันหอมระเหยไม่น้อยกว่า 6% การที่ขมิ้นชันใช้รักษาอาการแน่นจุกเสียดได้
เชื่อว่าเป็นผลรวมจากการที่มีฤทธิ์ต่างๆ ที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว เช่น ฤทธิ์ขับลม
ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการแน่นจุกเสียด หรือท้องเสีย ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดแก๊สเนื่องจากเชื้อ Escherichia coli3 และ Clostridium perfringens4 ฤทธิ์กระตุ้นการขับน้ำดีทำให้ย่อยได้ดีขึ้น
และฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบ (เนื่องจากตับเป็นแหล่งกำเนิดของน้ำย่อยหลายชนิด การที่ curcuminoid
สามารถป้องกันตับอักเสบเนื่องจากสารพิษ
จึงเป็นกระบวนการทางอ้อมในการลดอาการจุกเสียด) นอกจากนี้เคยมีผู้ทำการทดลองใช้ขมิ้นชันรักษาผู้ป่วยที่ปวดท้องเนื่องจากโรคกระเพาะ
อาหารเป็นแผล พบว่าได้ผลดี
จากการทดลองในสัตว์พบว่าขมิ้นชันมีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารโดยกระตุ้นการหลั่ง
mucin มาเคลือบกระเพาะ มีฤทธิ์ลดการอักเสบ
มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดกรดเนื่องจาก Lactobacillus acidophilus และ L. plantarum และมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้
การใช้ขมิ้นชันรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารนี้ อยู่ในระหว่างรอผลการวิจัยทางคลินิเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาบรรจุไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ3 อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าในหนูที่ได้รับ curcumin ในปริมาณสูงมาก
อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
ประโยชน์และแนวคิดในการพัฒนา
1.ได้ทำสบู่สมุนไพรขึ้นมาจากกลีเซอรีนธรรมชาติ
2.ได้รู้ถึงวิธีการทำสบู่อย่างถูกต้องโดยละเอียด
3.ได้ลงมือค้นคว้าหาข้อมูลและปฏิบัติจริง
4.ได้รับความรู้และประสบการณ์จากการทำสบู่
5.ได้สบู่มาเป็นหนทางหารายได้และนาไปประกอบธุรกิจในขั้นต่อไปได้
6.ได้ฝึกการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างเป็นหมู่คณะ
7.ได้ฝึกทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
8.ได้รู้สรรพคุณของพืชสมุนไพรชนิดต่างๆที่สามารถนำมาทำสบู่ได้
9.ได้สบู่ที่ทาจากสมุนไพรซึ่งปราศจากสารตกค้าง
และสามารถนำมาใช้เองได้
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
บทสรุป
1.สามารถนาสบู่ที่ผลิตออกมาไปขายได้
2.ผลิตสบู่เป็นที่น่าสนใจของคนทั่วไป
3.สามารถนำมาใช้เป็นของฝากหรือของชำร่วยได้
ข้อเสนอแนะ
1.ใช้แอลกอฮอล์ 95%
ฉีดหลังจากเทสบู่ลงแบบพิมพ์เพื่อไล่ฟองอากาศ
2.นำสมุนไพรชนิดอื่นที่ชื่นชอบมาผสมลงในสบู่
เช่น มะเฟือง ขมิ้น ขิง มะกรูด มังคุด
3.สบู่ที่แกะออกจากแม่พิมพ์แล้วไม่ควรปล่อยให้โดยลมเพราะจะทาให้สบู่มีฟองน้อยลงจึงควรรีบห่อบรรจุภัณฑ์ที
สรุปผลการทำโครงงาน กลีเซอรีนธรรมชาติสามารถนำมาผสมกับสมุนไพรชนิดต่าง ๆ
ได้เพื่อให้ได้สบู่สมุนไพรตามความต้องการของ ผู้ใช้ โดยที่ปราศจากสารเคมีต่างๆ
ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว ผิวหนังของคนเราต่างกันเราจึงเลือกใช้สบู่ที่
ต่างชนิดกัน จึงมีสบู่หลากหลายให้คุณได้เลือกใช้ บางคนก็ชอบใช้ขมิ้น
บางคนก็ชอบใช้น้าผึ้ง ดังนั้น เราจึง สามารถทำเองได้โดยใช้กลีเซอรีนจากธรรมชาตินี้
สมุนไพรที่ใช้ก็หาได้ง่ายในท้องถิ่นราคาไม่แพงและยังให้
ประโยชน์ต่อผิวเราได้ดีอีกด้วย
วิธีการดำเนินการ
ส่วนผสม : เกร็ดสบู่ใสกรีเซอรีน 1 กิโลกรัม , สารสกัดขมิ้น 1 ขีด , น้ำสะอาด 70 กรัม , เกลือแกง 1 ช้อนชา , น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ , น้ำหอม
วิธีทำ :
1. นำขมิ้นล้างให้สะอาด
สับให้ละเอียดแล้วนำมาตั้งไฟอ่อนๆลงในภาชนะจนเดือด แล้วกรองเอาแต่น้ำขมิ้น
2. หลอมเกร็ดสบู่ใสกรีเซอรีนในภาชนะสแตนเลสด้วยไฟอ่อนๆ รอจนละลาย
3. ยกลงจากเตา เติมน้ำสมุนไพร น้ำผึ้ง
กวนให้เข้ากัน
4.
เติมเกลือและน้ำหอมและใช้ไม้พายกวนให้เข้ากันเบาๆจะไม่ทำให้เกิดฟอง
5.
เติมน้ำเปล่าลงไปในภาชนะแล้วกวนให้เข้ากันอีกครั้ง ทำให้เหนียวพอสมควร
6. เมื่อกวนให้เข้ากันจนได้ที่แล้ว
เทใส่แบบพิมพ์พลาสติกทนความร้อน (ถ้าเป็นพิมพ์อย่างอื่น ให้ทาด้วยน้ำมันพืชก่อน
เพื่อให้แกะออกจากพิมพ์ได้ง่าย)
7. ทิ้งไว้ประมาณ 30-40
นาทีเพื่อให้สบู่แข็งตัว เมื่อรอจนเสร็จก็สามารถนำมาใช้ได้ทันที
หลักการและทฤษฎี
1. สบู่กลีเซอรีนธรรมชาติผสมสมุนไพรต่างชนิดกัน
สามารถทำความสะอาดผิวกายได้ต่างกัน
2. สบู่กลีเซอรีนธรรมชาติที่ผสม
ขมิ้นกับน้าผึ้ง ทาความสะอาดผิวได้ดีที่สุด
3. สบู่กลีเซอรีนธรรมชาติไม่มีสารเคมีใดๆจึงไม่เป็นโทษต่อร่างกาย
ตัวแปรต้น สบู่สบู่กลีเซอรีนธรรมชาติ
ตัวแปรตาม ความสะอาดของผิวกาย
ตัวแปรควบคุม ปริมาณสบู่ผสมสมุนไพร
นิยามเชิงปฏิบัติการ
สบู่สมุนไพรที่ทำขึ้นทำ มาจากกลีเซอรีนที่ได้จากธรรมชาติ
ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน ก็เพื่อที่จะ ไม่ให้ มีสารพิษตกค้างในร่างกาย สบู่ธรรมชาติ
คือ สบู่ที่เกิดจากกระบวนการซาปอนนิฟิเคชั่น (Saponification)ของไขมัน หรือน้ำมัน
จากพืชและสัตว์ที่ทาปฏิกิริยาทางเคมีกับสารละลายด่าง (โซเดียมไฮดรอกไซด์)
จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นของแข็ง ลื่น มีฟอง สามารถละลายและล้างออกด้วยน้ำ
สบู่ธรรมชาติไม่ถูกสกัดเอากลีเซอรีนออก ไม่มีการเติมสารเคมี สารเกิดฟอง (detergent) แต่อาจเติมสมุนไพร
หรือน้ำมันหอมระเหยลงไปเท่านั้น คุณสมบัติของสบู่ คือ ใช้ทำความสะอาด
ชำระล้างสิ่งสกปรก หรือเป็นสารช่วยลดแรงตึงผิว (surfactant) ปฏิกิริยาการเกิดสบู่ดังนี้
ไขมันหรือน้ำมัน + (ด่าง และ น้ำ) สบู่
+ กลีเซอรีน
Fat/oil (lye + water) Soap + Glycerine
วัตถุประสงค์
1.เพื่อทำสบู่อย่างประหยัดค่าใช้จ่าย
2.เพื่อศึกษาวิธีการทำสบู่สมุนไพร
3.เพื่อนำสบู่ที่ทำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเอง
4.เพื่อการลงมือปฏิบัติจริง
5.เพื่อเป็นประสบการณ์ในด้านของการศึกษาและเรียนรู้นอกสถานที่
6.เพื่อเป็นหนทางหารายได้และนำไปประกอบธุรกิจในขั้นต่อไป
7.เพื่อฝึกการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างเป็นหมู่คณะ
8.เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการ
การแก้ปัญหา ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
9.เพื่อฝึกการคิดวิเคราะห์ในการทำรูปแบบต่างๆของสบู่
10.เพื่อศึกษาสรรพคุณของพืชสมุนไพรชนิดต่างๆที่จะนำมาเป็นส่วนผสมในการทำสบู่
11.เพื่อให้มีสบู่ที่ผลิตจากสมุนไพรธรรมชาติ
12.เพื่อที่จะให้สบู่สมุนไพรเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
บทนำ
โครงงานวิทยาศาสตร์
เรื่องสบู่สมุนไพรจากขมิ้นนี้จัดทาขึ้นเพื่อ เรียนรู้วิธีการ ทำสบู่
เพราะสบู่เป็นของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจาวัน
ทุกวันเราอาบน้ำต้องใช้สบู่เพื่อการขจัดสิ่ง สกปรก ออกจากร่างกาย
ซึ่งคนส่วนมากมักจะเลือกสบู่ที่สามารถทาความสะอาดได้ดีมากๆ จนไม่ คำนึงถึงผล
เสียที่จะเกิดกับผิวในภายหลัง ปัจจุบันสบู่มีมากมายหลายชนิดให้เราเลือกใช้ ตามความ
เหมาะสมและความชอบของแต่ละบุคคล บางชนิดก็ผสมสมุนไพร บางชนิดก็ผสมสารเคมี เช่น Triclocarban เพื่อ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ซึ่งผู้ใช้บางรายอาจเกิดอาการแพ้สารเคมี หากใช้บ่อยเกินไป
แต่เรารู้จักสบู่เหล่านั้น ดีเพียงไร และจะมีสัก
กี่คนที่ใส่ใจในรายละเอียดว่าสบู่แต่ละก้อนมี ส่วนประกอบสำคัญอะไรบ้าง สบู่
ที่ดีจะต้องมีส่วนประกอบสำคัญที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อผิว
ซึ่งนอกจากจะทาให้สบู่ที่ได้ทาความ สะอาด ผิวได้ดีแล้ว
ยังสามารถบำรุงผิวได้อีกด้วย ทั้งนี้สบู่เป็น สิ่งที่เราต้องใช้เป็นประจำทุกวัน
หาก เราคัดสรร สบู่ที่ดีมีคุณภาพ จะทำให้เรามีสุขภาพผิวของที่ดี
อยู่คู่กับเราไปตลอดนานเท่านาน
วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
สมาชิกกลุ่ม
ชื่อของสมาชิกในกลุ่ม
1.นาย ปฐมพงศ์ วีรพันธุ์ ชั้น ม.5/4 เลขที่ 1
2.นาย ปณชัย สิทธิสารภาณ ชั้น ม.5/4 เลขที่ 5
3.นาย พีรพล เกษมสันตินาวิน ชั้น ม.5/4 เลขที่ 9
4.นาย ธนพล ดาราการ ชั้น ม.5/4 เลขที่ 12
5.นาย นัทธพงศ์ ชิวปรีชา ชั้นม.5/4 เลขที่ 19
6.นาย รัฐธรรมนูญ ขวัญศรี ชั้น ม.5/4 เลขที่ 21
7.นาย กฤตเมธ เทียนขาว ชั้น ม.5/4 เลขที่ 40
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)