1.1 ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของขมิ้น
บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.
2542 ได้บรรจุแคปซูลขมิ้นชันเป็นยารักษาอาการแน่นจุกเสียด โดยมีรูปแบบเป็นแคปซูลที่มีผงเหง้าขมิ้นชัน อบแห้ง 250 มิลลิกรัม ให้ขมิ้นชันที่ใช้มี curcuminoid ไม่น้อยกว่า
5% และน้ำมันหอมระเหยไม่น้อยกว่า 6% การที่ขมิ้นชันใช้รักษาอาการแน่นจุกเสียดได้
เชื่อว่าเป็นผลรวมจากการที่มีฤทธิ์ต่างๆ ที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว เช่น ฤทธิ์ขับลม
ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการแน่นจุกเสียด หรือท้องเสีย ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดแก๊สเนื่องจากเชื้อ Escherichia coli3 และ Clostridium perfringens4 ฤทธิ์กระตุ้นการขับน้ำดีทำให้ย่อยได้ดีขึ้น
และฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบ (เนื่องจากตับเป็นแหล่งกำเนิดของน้ำย่อยหลายชนิด การที่ curcuminoid
สามารถป้องกันตับอักเสบเนื่องจากสารพิษ
จึงเป็นกระบวนการทางอ้อมในการลดอาการจุกเสียด) นอกจากนี้เคยมีผู้ทำการทดลองใช้ขมิ้นชันรักษาผู้ป่วยที่ปวดท้องเนื่องจากโรคกระเพาะ
อาหารเป็นแผล พบว่าได้ผลดี
จากการทดลองในสัตว์พบว่าขมิ้นชันมีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารโดยกระตุ้นการหลั่ง
mucin มาเคลือบกระเพาะ มีฤทธิ์ลดการอักเสบ
มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดกรดเนื่องจาก Lactobacillus acidophilus และ L. plantarum และมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้
การใช้ขมิ้นชันรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารนี้ อยู่ในระหว่างรอผลการวิจัยทางคลินิเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาบรรจุไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ3 อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าในหนูที่ได้รับ curcumin ในปริมาณสูงมาก
อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น